แบบสอบถามเพื่อพัฒนาการบริการ
แบบสอบถามเพื่อพัฒนาการบริการ ทางผู้ดูแลเว็บไซต์ขอความร่วมมือมือจากนักศึกษาร่วมตอบแบบสอบถาม
สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผลหรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า “สวป.” ได้จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 โดยประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 88 ตอนที่ 24 ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2514 โดยมีสถานที่ทำงานเริ่มแรกอยู่ที่ชั้นล่างของอาคารสำนักงานอธิการบดี (AD1) และย้ายมาอยู่อาคารชั้นเดียวด้านหน้าสระน้ำ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ต่อมาได้งบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่เป็นอาคาร 7 ชั้น จึงได้ย้ายที่ทำการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีพื้นที่อาคารประมาณ 1,089,075 ตารางเมตร
สวป. มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือสถาบันอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย มีผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นวาระ ๆ ละ 4 ปี โดยมีคณะกรรมการบริหารฯ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
สวป. เป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการทางวิชาการแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกคณะ และทุกชั้นปี นับตั้งแต่การรับสมัครนักศึกษาใหม่ (ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง) ลงทะเบียนเรียน (ปีการศึกษาละ 5 ครั้ง) จัดตารางสอนให้กับคณาจารย์ จัดตารางเรียนให้กับนักศึกษา จัดตารางสอบและกรรมการคุมสอบ (ปีการศึกษาละ 5 ครั้ง แบ่งเป็นสอบไล่ 3 ครั้ง สอบซ่อม 2 ครั้ง) บริการและควบคุมทะเบียนประวัติให้กับนักศึกษา นอกจากนี้ ยังให้บริการหลักฐานที่เป็นหนังสือสำคัญ รวมทั้งออกใบรับรองผลสอบ และใบรับรองผลการศึกษา ใบรับรองผลสำเร็จการศึกษา รวมทั้งสถิติให้กับนักศึกษาและหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน สวป. ได้นำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015 มาใช้ในการบริหาร ปรับปรุง และพัฒนา เพื่อให้มีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ อันจะยังประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัยและนักศึกษา ซึ่ง สวป. ได้รับการรับรองมาตรฐานการให้บริการตามระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2015 ซึ่งในการบริหารงานคุณภาพของ สวป. ได้กำหนดนโยบายคุณภาพ คือ มุ่งมั่นพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานด้านบริการที่สอดคล้องกับข้อกำหนดให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง โดยบุคลากรคุณภาพของสำนักฯ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ
จากภาระหน้าที่ที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สวป. ได้แบ่งการปฏิบัติงานเป็นดังนี้
1. สำนักงานเลขานุการ (สล.)
2. ฝ่ายรับสมัครและแนะแนวการศึกษา (ฝร.)
3. ฝ่ายทะเบียนประวัตินักศึกษา (ฝป.)
4. ฝ่ายลงทะเบียนเรียนและจัดสอบ (ฝท.)
5. ฝ่ายประมวลผลการศึกษาและหนังสือสำคัญ (ฝน.)
หน้าที่ความรับผิดชอบของ สวป. กับการดำเนินงานในปัจจุบัน
1. ประสานงานและร่วมมือกับส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับงานด้านวิชาการและธุรการทั่วไป
2. จัดพิมพ์หนังสือ และเอกสารสำหรับการสมัครเข้าศึกษา
3. ดำเนินการรับสมัคร รับขึ้นทะเบียนการเป็นนักศึกษา
4. จัดทำบัตรประจำตัวนักศึกษา และเก็บรักษาทะเบียนประวัตินักศึกษารายบุคคล
5. บริการยื่นขอย้ายคณะ และเปลี่ยนสาขาวิชา ตลอดจนยื่นขอเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล
6. จัดพิมพ์หนังสือ “ประกาศกระบวนวิชาที่เปิดสอน พร้อมกับวันและเวลาสอบไล่” (ม.ร. 30)
7. รับลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัย และทางไปรษณีย์
8. จัดการสอบไล่และสถานที่สอบ
9. จัดกรรมการควบคุมสอบการสอบไล่
10. รับบอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา และดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องขอเงินคืน
11. บริการโอนย้ายระบบการเรียนการสอนจากส่วนกลางไปส่วนภูมิภาค และจากส่วนภูมิภาคมาส่วนกลาง
12. ตรวจสอบสถานภาพนักศึกษา และข้อมูลการลงทะเบียนเรียน
13. การชำระเงินค่าเทียบโอนหน่วยกิต
14. ออกใบรับรองผลการศึกษาให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการศึกษา
15. ออกใบรับรองประเภทต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
16. ตรวจสอบรายชื่อแจ้งจบการศึกษา
17. บริการข้อมูลนักศึกษาโดยถ่ายเอกสารจากเครื่องสแกนเนอร์
18. ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและจัดทำสถิติเกี่ยวกับนักศึกษา
19. จัดพิมพ์ใบอนุปริญญาและปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
20. บริการให้คำปรึกษา และแนะแนวเกี่ยวกับการศึกษา อาชีพ และปัญหาอื่น ๆ
สวป. ในอดีต
1. ฝ่ายเลขานุการ (สล.) มีหน้าที่ เกี่ยวกับงานทั่วไปของ สวป. เช่น งานสารบรรณ งานการเจ้าหน้าที่ งานคลัง งานพัสดุ และงานอื่น ๆ ที่มิใช่เป็นหน้าที่ของฝ่ายใด
2. ฝ่ายรับสมัครและลงทะเบียนเรียน (ฝท.) มีหน้าที่ ให้คำปรึกษาและแนะแนวการศึกษา แก่ผู้ที่จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษา ตรวจสอบเอกสารการสมัคร รับขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา และลงทะเบียนเรียน ออกบัตรประจำตัวนักศึกษา รวมทั้งการขอเพิ่มและบอกเลิกกระบวนวิชาเรียน
3. ฝ่ายระเบียนและสถิติ (ฝร.) มีหน้าที่ จัดทำและเก็บรักษาระเบียน และสถิติข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับนักศึกษา ตลอดจนเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่เสมอ จัดทำเอกสารผลการศึกษา รวมทั้งการออกหนังสือรับรองต่าง ๆ
4. ฝ่ายจัดสอนและสอบไล่ (ฝส.) มีหน้าที่ ติดต่อประสานงานและร่วมมือกับคณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำประกาศกระบวนวิชาที่เปิดสอน พร้อมทั้งกำหนดวัน เวลา ห้องเรียน และห้องสอบไล่ ตลอดจนการควบคุมดูแลให้บริการเกี่ยวกับการจัดสอน และจัดสอบไล่ให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย
5. ฝ่ายตำราและอุปกรณ์การศึกษา (ฝต.) มีหน้าที่ ติดต่อประสานงานกับสำนักงานอธิการบดี และคณะต่าง ๆ ในการควบคุม ดูแลรับผิดชอบ ในการพิมพ์และจัดจำหน่ายตำราเรียน ตลอดจนอุปกรณ์การศึกษา
ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2515 ได้มีการแบ่งงานเป็นการภายในใหม่ ดังนี้
1. ฝ่ายเลขานุการ
2. ฝ่ายรับสมัครและลงทะเบียนเรียน
3. ฝ่ายระเบียนและสถิติ
4. ฝ่ายทดสอบและประเมินผล
5. ฝ่ายตำราและอุปกรณ์การศึกษา
6. หน่วยคอมพิวเตอร์ (29 เมษายน 2517 ได้เปลี่ยนเป็นฝ่ายคอมพิวเตอร์)
ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2519 ได้แบ่งงานใหม่ ดังนี้
1. สำนักงานเลขานุการ
2. ฝ่ายรับสมัครและลงทะเบียนเรียน
3. ฝ่ายระเบียนและสถิติ
4. ฝ่ายทดสอบและประเมินผล
5. ฝ่ายคอมพิวเตอร์
6. ฝ่ายวิจัยและนิเทศ
ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2519 ได้มีมติคณะกรรมการประจำสำนักฯ เห็นสมควรให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานภายในของ สวป. ใหม่ เป็นดังนี้
1. สำนักงานเลขานุการ (สล.)
2. ฝ่ายรับสมัครและแนะแนว (ฝร.)
3. ฝ่ายจัดตารางสอน ลงทะเบียนเรียนและตารางสอบ (ฝท.)
4. ฝ่ายหนังสือสำคัญ และใบรับรอง (ฝน.)
5. ฝ่ายคอมพิวเตอร์ (ฝค.)
6. ฝ่ายวิจัยและสถิติ (ฝจ.) (พฤศจิกายน 2524 เปลี่ยนโครงสร้างงานใหม่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ฝ่ายข้อมูลและสถิตินักศึกษา”)
แม้ว่าการปฏิบัติงานในช่วงนั้นจะแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ แล้วก็จริง แต่ในลักษณะการทำงานยังร่วมแรงร่วมใจกันทำอยู่ เมื่อจำนวนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น ปริมาณงานก็มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น สวป. จึงได้รับงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารใหม่อีก 1 หลัง เป็นอาคาร 7 ชั้น และทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันจันทร์ ที่ 3 มกราคม 2520 เวลา12.20 น. โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช เสด็จทรงวางศิลาฤกษ์ และได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2522 จึงได้ย้ายจากอาคารชั้นเดียวมาปฏิบัติงานที่อาคาร 7 ชั้น ยกเว้นฝ่ายคอมพิวเตอร์บางส่วนยังคงใช้อาคารชั้นเดียวหลังเดิมอยู่
ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2526 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) ได้มีมติให้ฝ่ายวิจัยและสถิติ ของสวป. กับแผนกวิจัยสถาบัน ของสำนักงานอธิการบดี ผนึกรวมงานและอัตรากำลังกัน เพื่อจัดตั้งเป็น “กองแผนงาน” สังกัด สำนักงานอธิการบดี
ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2527 ท่านผู้อำนวยการ สวป. (ผวป.) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 ทำการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชเป็นการภายใน เป็นดังนี้
1. สำนักงานเลขานุการ (สล.)
2. ฝ่ายรับสมัครและแนะแนว (ฝร.)
3. ฝ่ายทะเบียนประวัตินักศึกษา (ฝป.)
4. ฝ่ายจัดตารางสอนและลงทะเบียนเรียน (ฝท.)
5. ฝ่ายจัดตารางสอบและกรรมการคุมสอบ (ฝก.)
6. ฝ่ายประมวลผลการศึกษา (ฝศ.)
7. ฝ่ายหนังสือสำคัญ (ฝน.)
8. ศูนย์คอมพิวเตอร์ (ศค.)
9. ศูนย์พัฒนาและบริการทางวิชาการ (ศว.)
ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2528 ที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ ได้มีมติให้ปรับโครงสร้างงานของศูนย์พัฒนาและบริการทางวิชาการ ให้เหมาะสมกับสภาพการดำเนินงานของ สวป. ยิ่งขึ้น โดยให้โอนหน่วยงานแนะแนวของฝ่ายรับสมัครและแนะแนวมารวมไว้และเปลี่ยนชื่อ เป็น “ศูนย์บริการวิชาการและสนเทศ”
ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบให้ สวป. จัดตั้งฝ่ายบัณฑิตศึกษาขึ้นใช้ชื่อย่อว่า “ฝบ.” โดยมีจุดประสงค์เพื่อรองรับการเรียนการสอนระดับปริญญาโทเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะมีการจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ
สำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้แยกงานออกจาก สวป. ไปจัดตั้งเป็นสถาบันคอมพิวเตอร์ในปี พ.ศ. 2530 แต่ยังคงปฏิบัติงานอยู่ที่ สวป. และได้ย้ายทุกส่วนงานไปอยู่ที่อาคารสถาบันคอมพิวเตอร์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2545 สวป. ได้แบ่งการปฏิบัติงานเป็นดังนี้
1. สำนักงานเลขานุการ (สล.)
2. ฝ่ายประมวลผลการศึกษา (ฝศ.)
3. ฝ่ายหนังสือสำคัญ (ฝน.)
4. ฝ่ายทะเบียนประวัตินักศึกษา (ฝป.)
5. ฝ่ายรับสมัคร (ฝร.)
6. ฝ่ายจัดตารางสอนและลงทะเบียนเรียน (ฝท.)
7. ฝ่ายจัดตารางสอบและกรรมการคุมสอบ (ฝก.)
8. ศูนย์กรรมวิธีข้อมูล (ศข.)
9. ศูนย์บริการวิชาการและสนเทศ (ศว.)
10. ศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (ศส.)
สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือสำนักอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัย มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ โดยมีคณะกรรมการสำนักฯ ซึ่งสภามหาวิทยาลัย แต่งตั้งจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยไม่เกิน 9 คน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการตามวาระต่าง ๆ มาแล้วรวม 12 ท่านด้วยกัน คือ
1. |
รองศาสตราจารย์ธนกาญจน์ ภัทรากาญจน์ |
ระหว่าง |
1 พ.ค. 14 – 30 ก.ย. 14 |
และ |
7 เม.ย. 19 – 31 ม.ค. 20 |
||
2. |
รองศาสตราจารย์ฤทธิ์ ศิริมาตย์ |
ระหว่าง |
1 ต.ค. 14 – 1 ก.พ. 16 |
3. |
รองศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร |
ระหว่าง |
1 ก.พ. 16 – 6 เม.ย. 19 |
4. |
ศาสตราจารย์ ดร. อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ |
ระหว่าง |
1 ก.พ. 20 – 28 เม.ย. 20 |
5. |
นายสุมน มงคะ |
ระหว่าง |
29 เม.ย. 20 – 31 ม.ค. 23 |
6. |
นายสมชาย น้อยฉ่ำ |
ระหว่าง |
1 ก.พ. 23 – 29 ก.พ. 31 |
และ |
พ.ศ. 2535 – 2541 |
||
7. |
ศาสตราจารย์ ดร. ธรรมนูญ โสภารัตน์ |
ระหว่าง |
1 มี.ค. 31 – 31 มี.ค. 31 |
8. |
นางกานดา พูลศิริ |
ระหว่าง |
1 เม.ย. 31 – พ.ศ. 2535 |
9. |
รองศาสตราจารย์ธีระ สิงหพันธ์ |
ระหว่าง |
พ.ศ. 2541 – 2542 |
10. |
รองศาสตราจารย์สนธ์ บางยี่ขัน |
ระหว่าง |
พ.ศ. 2542 – 2544 |
11. |
รองศาสตราจารย์วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ |
ระหว่าง |
พ.ศ. 2544 - 2554 |
16 มิ.ย. 2559 - 8 ก.พ. 2564 |
|||
14. |
นายณัฐวุฒิ ฮันตระกูล |
ระหว่าง |
9 ก.พ. 2564 - ปัจจุบัน |